ส่วนแบ่งการตลาด (Market Share) คืออะไร สำคัญอย่างไรกับธุรกิจ

ส่วนแบ่งการตลาด (Market Share) คืออะไร สำคัญอย่างไรกับธุรกิจ

การเจริญเติบโตของบริษัทแต่ละแห่งเกิดขึ้นจากปัจจัยหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพสินค้าและการบริหาร ทักษะและความสามารถของผู้บริหาร แต่อย่าลืมว่ามีสิ่งหนึ่งที่สามารถทำให้ธุรกิจของเราแข่งขันกับคู่แข่งได้อย่างไร้เทียมทาน นั่นก็คือส่วนแบ่งทางการตลาด (market share) ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างมาก

Market Share คืออะไร

Market share หมายถึง “ส่วนแบ่งการตลาด” ซึ่งเป็นตัวเลขที่บ่งบอกว่าสินค้าและบริการของธุรกิจมีส่วนร่วมในตลาดเท่าใด ซึ่งสามารถแสดงให้เห็นได้ว่าสินค้าหรือบริการของธุรกิจเราเป็นส่วนใหญ่ของตลาดหรือไม่ ตัวอย่างเช่น ถ้าตลาดธุรกิจน้ำเมาในประเทศไทยมีน้ำเมายี่ห้อสิงห์คิดเป็นร้อยละ 70 และน้ำเมายี่ห้อช้างและไฮเนเก้นคิดเป็นร้อยละ 15 แล้วสินค้าของธุรกิจเราคิดเป็นร้อยละเท่าใดของตลาดทั้งหมด ส่วนแบ่งการตลาดนี้จึงเป็นตัวบ่งบอกถึงการแข่งขันกับธุรกิจคู่แข่งและสามารถช่วยในการกำหนดรายได้และแนวโน้มของผู้บริโภคได้อีกด้วย

ความสำคัญของ Market Share

ส่วนแบ่งทางการตลาด (market share) เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยในการประสบความสำเร็จของธุรกิจ ซึ่งมันช่วยให้ธุรกิจทราบได้ว่าสินค้าหรือบริการที่ต้องการขายมีอิทธิพลต่อตลาดในระดับใด ว่าสามารถทำกำไรได้หรือไม่ และส่งผลต่อรายได้ขององค์กร นอกจากนี้ ส่วนแบ่งทางการตลาดยังช่วยในการกำหนดกลยุทธ์การตลาดและพัฒนาสินค้าให้เข้ากับความต้องการของลูกค้ามากยิ่งขึ้น

ระดับของส่วนแบ่งทางการตลาด

ระดับของ market share หรือการแบ่งส่วนตลาดสามารถแบ่งออกเป็น 3 ระดับได้

  • การตลาดรวม (Mass Marketing) : การตลาดแบบนี้ครอบคลุมลูกค้าทุกคนและจำนวนการผลิตมีมาก ซึ่งสินค้าหรือบริการจะเป็นแบบเดียวกันและเหมาะสำหรับทุกกลุ่มลูกค้า
  • การตลาดแบบแบ่งส่วน (Segment Marketing) : การตลาดแบบนี้จะแบ่งออกเป็นส่วนๆ โดยสินค้าหรือบริการจะเข้าถึงความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่แตกต่างกัน
  • การตลาดส่วนย่อย (Niche Marketing) : การตลาดในส่วนนี้จะเน้นการตอบสนองความต้องการของลูกค้าแต่ละบุคคลเป็นหลัก
market share หาจากไหน

ประโยชน์ของส่วนแบ่งการตลาด

การใช้ส่วนแบ่งการตลาดในการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายของการตลาดสามารถทำประโยชน์ให้กับธุรกิจได้ในหลายๆ ด้านดังนี้

  • เป้าหมายได้อย่างลึกซึ้ง: ส่วนแบ่งการตลาดช่วยให้นักการตลาดศึกษาข้อมูลและตลาดเป้าหมายได้อย่างลึกซึ้ง และให้ความเข้าใจเกี่ยวกับความต้องการของลูกค้า จากนั้นก็สร้างแนวทางในการผสมผสานกิจกรรมการตลาดให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า
  • เข้าใจความต้องการของตลาด: ส่วนแบ่งการตลาดช่วยให้นักการตลาดมีความรู้ในส่วนของลักษณะความต้องการของตลาดในแต่ละส่วน ซึ่งจะช่วยในการบริหารนโยบายเพื่อที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมและสามารถพัฒนาสินค้าเพื่อให้เข้ากับความต้องการของลูกค้าได้อย่างดี
  • วิเคราะห์สินค้าได้อย่างชัดเจน: ส่วนแบ่งการตลาดช่วยให้นักการตลาดวิเคราะห์สินค้าที่วางอยู่บนตลาดได้อย่างชัดเจน ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจและองค์กรเติบโตได้อย่างรวดเร็ว และช่วยในการวางกลยุทธ์ในการเพิ่มยอดขายได้ง่ายขึ้น
  • การจัดการทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพ: ส่วนแบ่งการตลาดช่วยให้เหล่านักการตลาดจัดการทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพ และส่งผลให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างง่ายดาย

การรับรู้ Market Share และเกณฑ์ในการแบ่งส่วนตลาด

การรับรู้ market share เป็นเครื่องมือสำคัญที่นักการตลาดใช้ในการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายของการตลาด โดยมีเกณฑ์ต่างๆ ที่ใช้ในการวิเคราะห์และแบ่งส่วนตลาด เช่น ลักษณะการซื้อสินค้า เช่น ความถี่ในการซื้อ ปริมาณสินค้าที่ซื้อในแต่ละครั้ง โอกาสที่ใช้ เช่น ปริมาณที่ใช้ ประโยชน์ที่ต้องการ เช่น คุณภาพ การบริการ ความประหยัด อัตราการใช้ เช่น ปริมาณที่ใช้ในแต่ละครั้ง

แผนการตลาด 7 กลยุทธ์บรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ

กลยุทธ์และแผนการตลาดที่มีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความสำเร็จให้กับธุรกิจในยุคปัจจุบัน แผนการตลาดไม่เพียงแค่ช่วยสรุปกลยุทธ์และวิธีการที่จำเป็นในการเข้าถึงลูกค้าและบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ แต่ยังช่วยในการประเมินและกำหนดตำแหน่งของธุรกิจในตลาด

ความสำคัญของ Market Share

1.) กำหนดเป้าหมาย

เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำในการสร้างแผนการตลาดที่มีประสิทธิภาพ ควรกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนและสามารถวัดผลได้ โดยให้เป้าหมายเกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยรวม และมีความเฉพาะเจาะจง นอกจากนี้ ควรจัดทำเป้าหมายให้เป็นไปได้จริง และมีเวลาที่กำหนด ไม่ว่าเป้าหมายของธุรกิจจะเป็นการเพิ่มการรับรู้สำหรับแบรนด์ หรือเพิ่มยอดขาย การกำหนดเป้าหมายเป็นกรอบสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างราบรื่น

2.) ระบุกลุ่มเป้าหมาย

การทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาแผนการตลาดให้เหมาะสม นอกจากนี้ควรทำการวิจัยตลาดเพื่อรวบรวมข้อมูลและเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้า เพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถเลือกช่องทางการตลาดและพัฒนากลยุทธ์ที่เหมาะสม

3.) วิเคราะห์การแข่งขัน

การวิเคราะห์คู่แข่งเป็นสิ่งสำคัญในแผนการตลาด เพราะช่วยระบุคู่แข่งทั้งแบบตรงและแบบอ้อม และช่วยประเมินกลยุทธ์ทางการตลาด จุดเด่นและจุดอ่อน นอกจากนี้ยังช่วยแยกความแตกต่างของธุรกิจ และระบุความได้เปรียบในการแข่งขัน

4.) วิเคราะห์ SWOT

การวิเคราะห์ SWOT (จุดแข็ง, จุดอ่อน, โอกาส, อุปสรรค) ช่วยให้มีมุมมองที่ครอบคลุมเกี่ยวกับปัจจัยภายในและภายนอก รวมถึงการระบุจุดแข็งและจุดอ่อน สำรวจโอกาสในตลาด และพิจารณาความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่อธุรกิจ

5.) เลือกช่องทางการตลาดที่เหมาะสม

การเลือกช่องทางการตลาดที่เหมาะสมช่วยให้ธุรกิจเข้าถึงลูกค้าได้ง่ายขึ้น โดยในปัจจุบันมีช่องทางการตลาดทั้งออฟไลน์และออนไลน์ เช่น สื่อโซเชียลมีเดีย การตลาดเนื้อหา การตลาดผ่านอีเมล การปรับแต่งเว็บไซต์ให้ติดอันดับบนเครื่องมือการค้นหา (SEO) การโฆษณาที่มีค่าใช้จ่าย เป็นต้น ธุรกิจควรเลือกช่องทางที่เหมาะสมและคุ้มค่า เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย

6.) กำหนดงบประมาณ

การกำหนดงบประมาณตามความเป็นจริงสำคัญในการดำเนินกิจกรรมทางการตลาด ควรพิจารณาค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณา การสร้างเนื้อหา ซอฟต์แวร์การตลาด การจ้างหน่วยงานภายนอก และทรัพยากรอื่น ๆ อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ควรตรวจสอบว่างบประมาณดังกล่าวได้รับการจัดสรรอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่

7.) ติดตามผลลัพธ์

ควรประเมินผลลัพธ์อย่างสม่ำเสมอและทำการปรับเปลี่ยนตามความจำเป็น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการทำงาน นอกจากนี้ควรใช้เครื่องมือที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มโอกาสให้กับธุรกิจ เช่น การวิเคราะห์เว็บไซต์ ระบบ CRM และข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับโซเชียลมีเดีย ทั้งหมดนี้เป็นเครื่องมือที่ช่วยวัดความสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การสร้างแผนการตลาดเป็นขั้นตอนสำคัญในการบรรลุวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ แม้แผนการตลาดจะไม่ใช่เรื่องที่สิ้นสุดลง แต่ควรได้รับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เข้ากับสภาวะตลาดที่เปลี่ยนแปลง รวมถึงความต้องการและความชอบของลูกค้า ธุรกิจควรพัฒนาและสร้างกลยุทธ์ทางการตลาดที่ตอบโจทย์และเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น

สรุป

ส่วนแบ่งการตลาด (market share) เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายด้านการตลาด โดยแบ่งลูกค้าเป็นกลุ่มย่อย เพื่อที่จะคัดสรรลูกค้าที่มีลักษณะความต้องการที่เหมือนกันไปอยู่ในกลุ่มเดียวกัน ช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงานด้านการตลาดให้บริษัทสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ทุกกลุ่มและความต้องการที่แตกต่างกันจะเป็นผลลัพธ์ที่มาจาก market share ทำให้บริษัทสามารถมองหากลยุทธ์ในการเพิ่มยอดขายและการเติบโตให้กับองค์กรได้