คราฟเบียร์ (craft beer) คือเบียร์ที่ผลิตโดยผู้ประกอบการรายย่อย หรือโรงเบียร์ท้องถิ่น ไม่ใช่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ โดยทั่วไปแล้วโรงเบียร์คราฟจะมีกำลังในการผลิตไม่เกิน 6 บาร์เรลต่อปีหรือประมาณ 700 ล้านลิตร ทำให้เบียร์ที่ผลิตออกมามีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ได้รสชาติหลากหลายตามสไตล์แบบโฮมเมดด้วยการแต่งกลิ่นตามธรรมชาติจากพืช ผลไม้ นานาชนิด เพราะมีข้อห้ามใช้สารเคมีมาแต่งกลิ่น
ต้นกำเนิดของคราฟเบียร์
ต้นกำเนิดของคราฟเฟียร์นั้นเกิดขึ้นในช่วงทศวรรษ 1970 โดยชนชาติอเมริกาที่รู้สึกเบื่อหน่ายกับรสชาติของเบียร์ในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีรสชาติค่อนข้างจำเจไร้ความเป็นเอกลักษณ์พวกเขาเลยคิดค้นและผลิตเบียร์ของตัวเองขึ้นมาใหม่
ความแตกต่างระหว่างคราฟต์เบียร์กับเบียร์ทั่วไป
ด้วยสเกลการผลิตของคราฟเบียร์กับเบียร์ทั่วไปที่แตกต่างกันมาก ทำให้เบียร์สองประเภทนี้มีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด เริ่มตั้งแต่
ส่วนผสม
- คราฟเบียร์ : ใช้มอลล์แท้ และนำมอลไปแช่น้ำหรือที่เรียกว่า Malting จนต้นอ่อนงอกออกมา
- เบียร์ทั่วไป : ใช้แป้งสาลี และข้าวโพด แทนการใช้มอลล์ เพราะมีราคาถูก ประหยัดต้นทุน
กระบวนการผลิต
- คราฟเบียร์ : เต็มไปด้วยความใส่ใจและมีขั้นตอนที่ค่อนข้างพิถีพิถัน
- เบียร์ทั่วไป : หลายขั้นตอนถูกตัดออกไป เช่น การผลิตมอลล์ เพราะขั้นตอนค่อนข้างยุ่งยากซับซ้อน
รสชาติ
- คราฟเบียร์ : มีความหลากหลาย และเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น
- เบียร์ทั่วไป : รสชาติแบบเดียวกันทั้งตลาด
ส่วนประกอบของการทำเบียร์
ในการผลิตเบียร์นั้นจะมีองค์ประกอบสำคัญอยู่ 4 ส่วนหลัก ได้แก่ ยีสต์ มอลล์ ฮ็อปส์ และน้ำ
- ยีสต์ (Yeast) คือส่วนที่ทำให้เกิดแอลกอฮอล์และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แบ่งเป็น 2 ประเภท
- Top Ferment – Ale Yeast ยีสต์ผิวหน้าของน้ำเบียร์
- Bottom Ferment – Lager Yeast ยีสต์ด้านล่างของน้ำเบียร์
- มอลต์ (Malt) เมล็ดธัญพืชที่นำมาหมักเบียร์จนกลายเป็นน้ำตาล มอลล์ที่นิยมนำมาทำเบียร์ จะเป็น Base มอลต์ เพราะราคาถูก และใช้เพื่อสกัดน้ำตาลอย่างเดียว แต่ถ้าอยากให้เบียร์มีเอกลักษณ์มากขึ้น ก็สามารถต้ม Special มอลต์เข้าไปด้วยได้ โดยมอลล์จะทำงานร่วมกับยีสต์ได้ออกมาเป็นแอลกอฮอล์
- ฮ็อปส์ (Hops) เป็นพืชตระกูลไม้ที่เอามาใส่ให้เบียร์มีรสขมและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว อีกทั้งยังเป็นสารกันบูดโดยธรรมชาติ ทำให้เบียร์เก็บได้นานขึ้น โดยส่วนที่เอามาใช้สำหรับทำเบียร์จะเป็นดอกและเมล็ดของฮอปส์
- น้ำ (Water) เบียร์มีส่วนประกอบเป็นน้ำ 95% ขึ้นไป น้ำจากแหล่งที่ต่างกันก็มีรสชาติและแร่ธาตุต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อรสชาติเบียร์ด้วย
องค์ประกอบทั้ง 4 อย่างนี้ตรงกับกฎหมายเบียร์ของเยอรมันที่มีการกำหนดว่า “เบียร์ที่ผลิตในประเทศเยอรมนีจะต้องใช้องค์ประกอบหลัก 4 อย่างเท่านั้นคือ มอลต์ ฮอปส์ ยีสต์ และน้ำ” ทำให้ไม่เห็นเบียร์ที่ทำจากข้าวสาลี หรือเบียร์รสสตรอว์เบอร์รี ในเยอรมนี เพราะไม่ใช่มอลต์นั่นเอง
ขั้นตอนการทำเบียร์คราฟ
เบียร์ 1 แก้วที่เราดื่ม ๆ กันนั้น มีขั้นตอนหลัก ๆ อยู่ 3 อย่างคือ ต้ม กรอง และหมัก
- เริ่มจากการเอามอลต์หรือข้าวบาร์เลลย์มาต้มในน้ำประมาณ 60 – 70 องศา เพื่อให้ได้ Wort หรือน้ำเบียร์ แล้วใส่ hops ลงไป
- จากนั้นวนน้ำที่ต้ม ทำให้เกิดการตกตะกอน กรองมอลล์ออกจากน้ำเบียร์
- และใส่ยีสต์ลงไป ตัวยีสต์จะกินน้ำตาลเป็นอาหาร ทำปฏิกิริยาได้เป็นแอลกอฮอร์ออกมาเป็นเบียร์อร่อย ๆ ให้เราได้กินกัน
กฎหมายเบียร์ในไทย
ประเทศไทยมีคราฟเบียร์อร่อย ๆ หลายเจ้า น่าเสียดายไม่สามารถผลิตได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย เนื่องจากยังไม่มีการปลดล็อค พ.ร.บ. สุรา ที่ทำให้เกิดการผูกขาดทางการค้า เอื้อประโยชน์ต่อนายทุนมากกว่าเกษตรกรหรือคนกลุ่มเล็ก ๆ ทำไมถึงว่าแบบนั้นล่ะ เพราะหากต้องการผลิตคราฟเบียร์แบบถูกกฎหมายต้องไปขอใบอนุญาตจากกรมสรรพสามิต แต่มีเงื่อนไขว่า
- 1. มีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท
- 2. หากผลิตเพื่อขาย ณ สถานที่ผลิต อาทิโรงเบียร์เยอรมันตะวันแดง จะต้องมีปริมาณการผลิตไม่ต่ำกว่า 1 แสนลิตรต่อปี
- 3. หากจะบรรจุขวดหรือกระป๋อง ผลิตเพื่อขายนอกสถานที่ เหมือนเบียร์รายใหญ่ จะต้องผลิตปริมาณไม่ต่ำกว่า 10 ล้านลิตรต่อปี หรือไม่ต่ำกว่า 33 ล้านขวดต่อปี เป็นเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกฎกระทรวงการอนุญาตผลิตสุราปี 2560
8 ประเภทคราฟต์เบียร์ไทยที่ติดท็อปฮิต
1. ลาเกอร์ (Lager) สีสดใส สดชื่น ให้รสชาติขม แต่นุ่มลิ้น
2. Pilsner เป็นคราฟต์เบียร์ Bottom Ferment เนื้อเบียร์บาง ๆ รสหวานอ่อน ๆ และมีกลิ่มหอมจากฮ็อปส์และมอลต์
3. Witbier หรือ เบียร์สีขาว คราฟเบียร์สไตล์เบลเยียม ทำจากข้าวสาลี มักมีกลิ่นของเปลือกส้ม (Citrus) และเมล็ดผักชี
4. Hefeweizen คราฟต์เบียร์สไตล์เยอรมัน ที่ฮิตในหมู่คนไทย ตัวนี้จะหมักยีสต์เข้มหน่อย มีกลิ่นฮ็อปส์จาง ๆ
5. Pale Ale คาฟต์เบียร์สีเหลืองทอง กลิ่นฮอปส์จะเด่น ผสมกลิ่น Citrus จาง ๆ รสชาติอ่อน ดื่มง่าย บอดี้บาง
คราฟต์เบียร์สีเหลืองทอง ที่เด่นในรสชาติของฮ็อปส์ มีกลิ่น Citrus จาง ๆ รสชาติอ่อน ดื่มง่าย บอดี้บาง
6. IPA หรือ Indian Pale Ale อีกหนึ่งคราฟเบียร์ยอดฮิต ตัวเบียร์มีสีส้มออกทองแดง บอดี้เข้มข้น มีปริมาณฮ็อปส์และยีสต์มากขึ้น ส่งผลให้เบียร์มีแอลกอฮอล์สูงขึ้นตามไปด้วย
7. Double IPA บางที่เรียกว่า imperial IPA ขั้นกว่าของ IPA ใส่ฮ็อปส์เพิ่มขึ้นและหมักยีสต์นานขึ้น 2 เท่า ทำให้มีปริมาณแอลกอฮอล์ที่สูง บอดี้แน่นกว่า IPA 2 เท่า
8. สเตาท์เบียร์ (Stout Beer) คราฟต์เบียร์ดำ รสชาตินุ่มลึก คล้ายโกโก้ กาแฟ วานิลลาที่ได้จากการหมักข้าวบาร์เลย์ที่อบจนเกือบไหม้ ผสมกับมอลต์ ปริมาณแอลกอฮอล์มีไม่สูง
ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจากเว็บไซต์ thomasthailand
สรุป
ท่านไหนสนใจอยากลองชิมเบียร์รสชาติดี มีเอกลักษณ์ ก็สามารถสั่งซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ได้บนเว็บขายเบียร์คราฟ และเบียร์นอก อาทิ beer1st beerzpot buyyourdrinks ที่นี่มีทั้งคราฟเบียร์แบบกระป๋องและแบบขวด สนนราคาหลักสิบไปจนถึงหลายร้อยบาทหลากหลายยี่ห้อให้คอเบียร์ได้สั่งมาชิมกันได้ตามใจ