อุปมาโวหาร

อุปมาโวหาร คืออะไร มีประโยชน์ และมีวิธีการเขียนอย่างไร

ถ้าหากจะพูดถึงโวหาร หรือสำนวนการเขียนประเภทใดสักอย่าง ที่จะช่วยเสริมประสิทธิภาพให้เนื้อหาที่ต้องการสื่อสารออกไป มีความชัดเจน และเด่นชัดมากยิ่งขึ้น หนึ่งในนั้นต้องมี อุปมาโวหาร อย่างแน่นอน เพราะถือว่าเป็นถ้อยคำที่นำมาใช้ในการเปรียบเทียบ เปรียบเปรย เสริมเติมความพิเศษให้กับเนื้อหาภายในข้อความ โดยที่ผู้เขียนถ้าหากศึกษาวิธีเขียน อุปมาโวหาร อย่างดีก็จะสามารถนำมาใช้เป็นกลยุทธิ์ในการเขียนโดยเฉพาะการเขียนวรรณกรรมได้อย่างน่าสนใจเลยทีเดียว

อุปมาโวหาร คืออะไร

สำหรับคำว่า อุปมาโวหาร มีคำอธิบายของสำนักงานราชบัณฑิตยสถานที่ได้ให้ความหมายของคำดังกล่าวไว้ว่า อุปมา เป็นการเปรียบเทียบของคำระหว่าง สิ่งที่ไม่ใช้ของชนิดเดียวกัน หรือเรื่องเดียวกัน แต่มีลักษณะร่วมกัน โดยหัวใจหลักของคำว่า อุปมา ก็คือสิ่งที่เป็นนามธรรม ให้เป็นรูปแบบ หรือกล่าวคือ ของบางอย่าง หรือเรื่องยางอย่าง ถ้าหากเราไม่สามารถมองเห็น หรือมองไม่ออก การนำมาเปรียบเทียบกับสิ่งที่ทำให้ผู้อ่านได้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น ก็จะถือว่าเป็น อุปมาโวหาร นั่นเอง

ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ดังนั้น อุปมาโวหาร จึงมีความหมายว่า สำนวนที่นำมาใช้เพื่อการเปรียบเทียบในสิ่งที่มีความเหมือนกัน ซึ่งจะมีคำเชื่อมที่มีความหมายเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นคำว่า เหมือน เช่น ดุจ ดั่ง ราว ราวกับ เปรียบ ประดุจ เฉก เล่ห์ ปาน ประหนึ่ง เพียง เพี้ยง พ่าง ปูน ถนัด ละหม้าย เสมอ กล อย่าง ฯลฯ ที่จะเป็นคำที่ส่งผลให้เกิดความชัดเจนด้านความหมาย ภาพพจน์ และอารมณ์ความรู้สึกเพิ่มมากขึ้น โดยปกติแล้ว อุปมาโวหาร จะนำมาใช้เป็นโวหารเสริมของการบรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร และเทศนาโวหาร เพราะจะสามารถช่วยเสริมความชัดเจนได้มากขึ้นนั่นเอง

วิธีการเขียนอุปมาโวหารมีอะไรบ้าง

  • ใช้เปรียบเทียบสิ่งที่มเหมือนกัน 2 สิ่ง สามารถใช้คำว่า เหมือน ดุจ คล้าย นำมาใช้เป็นตัวเชื่อมประโยคในการเปรียบเทียบของ 2 สิ่งที่ต้องการแสดงออก เช่น ดีใจเหมือนได้แก้ว เล่าปี่ดีใจเหมือนปลาได้น้ำ เป็นต้น
  • ใช้เปรียบเทียบโดยการโยงความคิดเห็นจากสิ่งหนึ่งไปสิ่งหนึ่ง ความหมายดังกล่าวจะเป็นการเปรียบเทียบโดยนำความคิด หรือลักษณะจากสิ่งหนึ่งไปสู่สิ่งหนึ่ง เพื่อให้ผู้อ่านได้เกิดความเข้าใจ และรวมไปถึงการตีความประกอบเพื่อให้เกิดความชัดเจน เช่น ครูเหมือนเรือจ้าง ชาวนาเป็นกระดูดสันหลังของชาติ เป็นต้น
  • สำใช้เปรียบเทียบการซ้ำคำเป็นความหมายของการใช้คำ เพื่อให้คำนั้นๆ มีความแข็งแรง และชัดเจนมากขึ้น เช่น จะมารักเหากว่าผม จะมารักลมกว่าน้ำ จะมารักถ้ำกว่าเรือน จะมารักเดือนยิ่งกว่าตะวัน จะมารักตัวออกเฒ่ายิ่งกว่าตัวเองเล่า เป็นต้น
  • ใช้เปรียบเทียบโดยการยกตัวอย่างประกอบ จะเป็นการช่วยเน้นคำนั้นๆ ให้เกิดความโดดเด่น และเข้าใจความหมายได้ง่ายขึ้น เช่น พระราชาหนึ่ง หญิงหนึ่ง ไม้เลื้อยหนึ่ง ย่อมรักผู้คน และสิ่งที่อยู่ใกล้ๆ เป็นต้น
  • ใช้เปรียบเทียบสิ่งที่อยู่ตรงกันข้ามกันคือความหมายของการใช้งานที่นำมาใช้ในการเปรียบเทียบสิ่งของต่างๆ ที่มีลักษณะที่ตรงข้ามกันอย่างชัดเจน รวมไปถึงความขัดแย้งตรงข้ามกันของสิ่งของที่มีความแตกต่างกัน เช่น น้ำกับไฟ รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ เป็นต้น
  • ใช้เปรียบเทียบโดยใช้ชื่อเทียบเคียง : ความหมายในลักษณะดังล่าว ถือว่าเป็นการใช้คำที่หลายคนมักจะหยิบยกมาใช้กันบ่อยโดยไม่รู้ตัว เช่น ปากกามีอำนาจกว่าคมดาบ จากเปลไปถึงหลุมฝังศพ เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าการนำเอาอุปมามาใช้ ก็เพื่อเสริมความหมายให้โวหารนั้นๆ มีความหมายที่ครบถ้วน และสมบูรณ์ ทำให้ผู้อ่านสามารถเห็นภาพได้ชัดเจน และถูกต้อง แต่สิ่งที่ควรระวังเป็นพิเศษนั่นก็คือ การนำมาเปรียบเปรยกับสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • ไม่อุปมาผิดพจน์ หมายถึง การนำเอาเข้ามาใช้ในการเปรียบเทียบเพ่อให้เกิดความถูกต้อง ที่จำเป็นต้องมีความสอดคล้องกับเนื้อหามากที่สุด เช่น ตาของหล่อนวาวามราวกับหมู่ดาวในท้องฟ้อ เป็นต้น
  • ไม่อุปมาผิดเพศ ยกตัวอย่างการใช้งานเช่น เขาคนนั้นเป็นชายหนุ่มที่ไร้ค่าเหมือนกับดอกหญ้าข้างทาง
  • ไม่อุปมาเกินตัว หมายถึง การนำคำต่างๆ มาใช้ในการเปรียบเทียบที่มีความเกินจริงกว่าความเป็นจริง เพราะควรมีความสมเหตุสมผลในการนำมาเป็นคำประกอบ เช่น หิ่งห้อยสว่างราวดวงจันทร์
  • ไม่อุปมาต่ำช้า หมายถึง ไม่ควรนำคำที่มีความหมายต่างๆ มาลดทอนความสำคัญของประโยคต่างๆ ที่ต้องการสื่อความหมาย หรือคือการเปรียบเทียบบุคคลกับสิ่งของที่กล่าวถึง เช่น ข้าจงรักภักดีต่อเจ้าเหมือนกับสุนัขที่รักเจ้านาย

ตัวอย่าง อุปมาโวหาร ที่ถูกต้อง

…ถ้าแม้เจ้าอาลัยอยู่ด้วยลูกจริงๆ เหมือนวาจา ก็จะรีบกลับเข้ามาแต่วี่วันไม่ทันรอน เออนี่เจ้าเที่ยวพเนจรนอนตามสนุกใจ ชมนกชมไม้ในไพรวัน สารพันก็มี ทั้งฤๅษีสิทธิ์วิทยาธรคนธรรพ์ เทพารักษ์ผู้มีพักตร์อันเจริญ เห็นแล้วก็น่าเพลิดเพลินไม่เมินได้ หรือเจ้าปะผลไม้ประหลาดรสสดสุกทรามเสวยไม่เคยกิน เจ้าฉวยชิมชอบลิ้นก็หลงฉันอยู่จึ่งช้าอุปมาเสมือนหนึ่งภุมรินบินวะวินว่อน เที่ยวซับซาบเอาเกสรสุคนธมาเลศ พบดอกไท้อันวิเศษต้องประสงค์หลงเคล้าคลึงรสจนลืมรัง เข้าเถื่อนเจ้าลืมพร้าได้หน้าแล้วลืมหลังไม่แลเหลียวเที่ยวทอดประทับมากลางทาง

แหล่งอ้างอิง : มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์ชูชก : เจ้าพระยาพระคลัง หน

อสุรีผีเสื้อเหลือจะอด ค้นโอรสราวกับไฟไหม้มังสา ช่างหลอกหลอนผ่อนผันจานรรจา แม้นจะว่าโดยดีมิเห็นฟัง

แหล่งอ้างอิง : พระอภัยมณี ตอน หนีนางผีเสื้อ ของสุนทรภู่

บทสรุป อุปมาโวหาร

สำหรับการนำคำต่างๆ เข้ามาใช้ในการเปรียบเทียบความหมายของสิ่งใดที่มีความเหมือนกันคือความหมายของคำว่า อุปมาโวหาร ที่จะสามารถช่วยเสริมความหมาย และคำบรรยายของประโยคให้มีความชัดเจนมากขึ้น หรือการเสริมความหมายของการ บรรยายโวหาร พรรณนานาโวหาร และเทศนาโวหาร

สิ่งเหล่านี้ที่เป็นนามธรรม ให้เกิดเป็นรูปธรรมมากขึ้น เพื่อให้เกิดการจัดการเนื้อหาของโวหารให้มีความชัดเจน ส่งผลโดยตรงต่อผู้อ่าน ที่จะทำให้เกิดความเข้าใจของเนื้อหาที่ต้องการสื่อออกไปของโวหารแต่ละประเภทที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับลักษณะเนื้อความที่ต้องการจะสื่อออกไปนั่นเอง