วรรณกรรม คืออะไร

วรรณกรรม วรรณศิลป์ และวรรณคดี คืออะไร ความหมายและความแตกต่าง

ศิลปะที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้มีด้วยกันหลายแขนง ไม่ว่าจะเป็นวรรณกรรม วรรณคดี หรือวรรณศิลป์ ทั้งสามสิ่งนี้มีรากฐานอันยาวนานและมีอิทธิพลต่อสังคมมนุษยมาตั้งแต่ยุคอดีตจนถึงปัจจุบัน ในบทความนี้เราจะพาสำรวจความแตกต่าง และองค์ประกอบของศิลปะทั้ง 3 ประเภทนี้ไปด้วยกัน 

ความหมายของวรรณกรรม” คืออะไร 

“วรรณกรรม” มาจากการผสมคำว่า  “วรรณ” และ “กรรม” ในภาษาสันสกฤษ โดย…

  • “วรรณ” หมายถึง หนังสือหรืองานประพันธ์
  • “กรรม” หมายถึง การกระทำเชิงศิลปะ เช่น การเขียนหรือการแต่งประพันธ์ 

ดังนั้น “วรรณกรรม” จึงหมายถึงศิลปะแขนงหนึ่งที่ได้มีการถ่ายทอดความรู้สึก ความคิด และจินตนาการของมนุษย์ผ่านตัวหนังสือ งานประพันธ์ หรือบทความ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราพบเห็นในชีวิตประจำวัน วรรณกรรมจึงเป็นหนึ่งในศิลปะที่ช่วยให้มนุษย์สามารถใช้จินตนาการและภาษาในการสร้างสรรค์ เพื่อสื่อสารและแบ่งปันความรู้สึกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วรรณกรรม  (Literature)  คืองานหนังสือ บทประพันธ์ และงานเขียนทุกประเภทที่เป็นทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง
วรรณกรรม วรรณศิลป์ และวรรณคดี คืออะไร ความหมายและความแตกต่าง

ประเภทของวรรณกรรม 

วรรณกรรมแบ่งออกเป็นหลายประเภทตามลักษณะและวัตถุประสงค์ของผู้เขียน โดยประเภทของวรรณกรรมที่เราพบในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้ดังนี้

  • วรรณกรรมสารคดี  เป็นวรรณกรรมที่เน้นการสื่อสารความรู้และประสบการณ์ที่มีค่าจากผู้มีประสบการณ์หรือผู้เขียนเอง เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจและได้รับความรู้ใหม่  เช่น หนังสือเรียน บทความ และตำราความรู้ต่าง ๆ  
  • วรรณกรรมบันเทิงคดี เป็นวรรณกรรมบันเทิงคดีมุ่งสร้างความเพลิดเพลินและความสนุกสนานให้กับผู้อ่าน ผ่านการถ่ายทอดความคิดและจินตนาการ ผู้เขียนมุ่งสร้างสรรค์เนื้อหา เพื่อให้ผู้อ่านมีความสนุกสนานและเพลิดเพลิน รวมถึงผ่อนคลายจากการอ่านประเภทนี้ เช่น วนิยาย นิทาน และบทเพลง  

องค์ประกอบของวรรณกรรม  

ในงานวรรณกรรมหนึ่งชิ้นจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ รูปแบบ แนวคิด และภาษา โดยรูปแบบในการสร้างสรรค์วัรรณกรรมนั้น ถือเป็นส่วนที่ทำให้งานวรรณกรรมมีลักษณะเฉพาะและน่าสนใจ รูปแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 

  • ร้อยกรอง เป็นงานเขียนที่ต้องใช้ความชำนาญในการสร้างคำพูดให้มีความสวยงาม สละสลวย คล้องจอง มักจะใช้กาพย์ กลอน โครงร่าง หรือนิราศ เพื่อสร้างความสมดุลและเสน่ห์ให้กับข้อความ เป็นรูปแบบวรรณกรรมที่น่าสนใจและสามารถสร้างวามประทับใจผู้อ่านได้ในระดับสูง ตัวอย่าง พระอภัยมณี ขุนช้างขุนแผน
  • ร้อยแก้ว เป็นงานเขียนที่มุ่งสร้างความเข้าใจและความรู้สึกให้กับผู้อ่าน โดยส่วนใหญ่ไม่ต้องใช้การสัมผัสคำหรือการจัดรูปแบบคำพูดเหมือนร้อยกรอง แต่เน้นไปที่ความกระชับของเนื้อหาที่สื่อความหมาย สามารถจับใจความได้ง่าย ๆ ไม่ว่าจะเป็นนิทานหรือนวนิยายที่ทำให้ผู้อ่านคลายเครียดและเพลิดเพลินกับการอ่าน 

วรรณคดี คืออะไร 

วรรณคดี คือวรรณกรรมที่ได้รับการยกย่องว่าดี และมีคุณค่าทางวรรณศิลป์ สามารถทำให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกร่วม สนุกสนาน และเพลิดเพลินได้ เช่น มัทนะพาธา สามก๊ก เป็นต้น    

การประเมินคุณค่าของวรรณกรรมแต่ละเรื่องว่ามีความยกย่องหรือความโดดเด่นมากน้อยแค่ไหนในมุมมองของวรรณศิลป์เกิดขึ้นในพระราชกฤษฎีกาตั้งวรรณคดีสโมสรในสมัยพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6  

วรรณคดีมุขปาฐะ  คือ วรรณคดีที่เล่ากันมาปากต่อปาก

ประเภทของวรรณคดี 

โดยวรรณคดีจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน ดังนี้ 

  • วรรณคดีมุขปาฐะ ลักษณะเป็นวรรณคดีที่เล่ากันมาปากต่อปาก ไม่ได้มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่กลับได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย อาทิ เพลงพื้นบ้าน นิทานพื้นบ้าน 
  • วรรณคดีราชสำนัก หรือที่เรียกว่า “วรรณคดีลายลักษณ์” เป็นวรรณคดีที่ถูกจดบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เรื่องราวในวรรณคดีรูปแบบนี้มักมีความเกี่ยวข้องกับการใช้ภาษา การสร้างศิลปะในการประพันธ์ต่าง ๆ  เช่น ลิลิตตะเลงพ่าย ไตรภูมิพระร่วง และอื่นๆ อีกมากมา

นอกจากนี้ยังวรรณคดีอื่น ๆ ที่สามารถศึกษาและอ่านได้ตามความสนใจของแต่ละคน โดยเนื้อหาภายในจะสร้างอารมณ์และความรู้สึกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกเศร้า รัก โกรธ มีความสุข แต่ถ้าผู้อ่านไม่รับรู้หรือไม่รู้สึกอะไรเลย นั่นไม่สามารถเรียกว่าวรรณคดีได้ นั่นจึงเป็นเหตุผลที่มีวรรณกรรมหลายเรื่องไม่ได้รับการยกย่องว่าเป็นวรรณคดี 

วรรณศิลป์ คืออะไร 

วรรณศิลป์ คือศิลปะในการแต่งวรรณกรรม บทประพันธ์ ซึ่งจะประกอบด้วยการเลือกใช้ถ้อยคำ โวหาร สำนวน และการเรียบเรียงเรื่องราวอย่างปราณีต เหมาะสม เพื่อกระตุ้นความรู้สึกและสะเทือนอารมณ์ของผู้อ่าน 

ซึ่งศิลปะในการแต่งวรรณกรรมมีหลักการสำคัญอยู่ 3 ประการ ได้แก่ 1.) สุนทรียรส 2.) ความสามารถในการใช้ภาษา 3.) คุณภาพของเนื้อเรื่อง 

องค์ประกอบของวรรณศิลป์ 

ในการแต่งวรรณกรรมให้ออกมาน่าอ่าน และเป็นที่จดจำ ควรองค์ประกอบของวรรณศิลป์มี 6 ประการด้วยกันดังนี้ 

  1. อารมณ์และความรู้สึก (Emotion) เปรียบเสมือนหัวใจของเรื่อง เพราะธธรรมชาติของมนุษย์แม้จะจำเรื่องราวและหตุการณ์ไม่ได้ แต่ในแง่ของความรู้สึกต่อเหตุการณ์ อย่างความโกรธ ความสุข ความเศร้า มักจะจดจำได้เสมอ 
  2. ความคิดและจินตนาการ (Though and Imagination) การแสดงความคิดและจินตนาการในงานเขียนเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยเปิดโอกาสให้ผู้อ่านมีพื้นที่ในการสร้างภาพในจินตนาการของตนเอง .
  3. การสื่อสารกับผู้อ่าน (Communication) ความสามารถในการสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญในวรรณศิลป์ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาและความหมายที่ผู้เขียนต้องการสื่อสารได้อย่างชัดเจน การใช้ภาษาและการสร้างโครงสร้างในการเขียนมีบทบาทสำคัญในการสื่อสารด้วยเช่นกัน 
  4. อัตลักษณ์ของผู้เขียน (Identity) เป็นเหมือนลายเซ็นของนักเขียนแต่ละคน การสร้างอัตลักษณ์นี้ต้องอาศัยประสบการณ์มากมาย 
  5. กลวิวิธีในการเขียน (Technique) สำคัญในการสร้างสมดุลในเรื่องราว การเลือกใช้คำศัพท์ การจัดโครงสร้าง เวลาการเรียบเรียงเรื่อง และการบรรยาย ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีผลต่อความสนุกสนานและความเข้าใจของผู้อ่านด้วย
  6. การจัดวางองค์ประกอบของเรื่อง ทิศทางของเรื่อง และสำนวนภาษาที่ใช้ในเรื่อง อย่างเหมาะสม (Composition, Direction and Wording) ทั้งหมดนี้มีบทบาทสำคัญในการสร้างเนื้อหาที่น่าสนใจและถ่ายทอดความหมายของเรื่องได้อย่างชัดเจน

FAQ คำถามที่พบบ่อย

วรรณกรรมลายลักษณ์อักษร คืออะไร

วรรณกรรมลายลักษณ์อักษร หมายถึง วรรณกรรมที่บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ นิทาน คำกลอน บันทึกทางประวัติศาสตร์ 

วรรณกรรมปัจจุบัน คืออะไร

วรรณกรรมปัจจุบัน หมายถึง วรรณกรรมที่สร้างสรรค์ขึ้นใน ระยะเวลานี้ ขณะนี้ หรือยุคนี้ ซึ่งอาจจะต้องมีเนื้อหา รูปแบบ และแนวคิดที่ต่างจากวรรณกรรมในสมัยอดีต

วรรณกรรมไทย มีอะไรบ้าง

วรรณกรรมไทยมีหลายเรื่องมาก เช่น ขุนช้างขุนแผน ไตรภูมิพระร่วง มหาชาติคำฉันท์ นิราศภูเขาทอง

สรุป

หากเราพิจารณาศิลปะทั้งสามแขนงนี้ จะพบว่ามันเชื่อมโยงกันอย่างลงตัว เนื่องจากมีความงดงามในเรื่องของภาษาและยังส่งผลให้เราเข้าใจได้ว่าความคิดและจินตนาการของมนุษย์ได้มากยิ่งขึ้น เรียกได้ว่าถือเป็นของสมบัติที่ควรค่าแก่ศึกษา เพื่อให้ความคิดและความสติปัญญาในกระบวนการสร้างสรรค์นั้นเติบโตและเจริญรุ่งเรืองอย่างสมบูรณ์ 

บทความที่เกี่ยวข้อง