Design Thinking กระบวนการคิดเชิงออกแบบ 5 ขั้นตอน

Design Thinking คืออะไร รู้จักกระบวนการคิดเชิงออกแบบ 5 ขั้นตอน

ในยุคที่เต็มไปด้วยการแข่งขันไม่ว่าจะเป็นการทำ Content ให้มีเนื้อหาสาระที่ปัง รวมไปถึงยังจะต้องเป็น Content ที่ตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายแต่ก่อนที่เราจะทำให้สิ่งที่เราสร้างขึ้นเจาะกลุ่มเป้าหมายเหล่านั้นได้เราจะต้องเริ่มต้นจากการที่เรามีกระบวนความคิดที่เริ่มต้นมาอย่างดี และแน่นอนว่ามันจะทำให้ก้าวต่อ ๆ ไปนั้นดีไปด้วยเช่นเดียวกัน

กระบวนการคิดที่สำคัญที่จะช่วยให้ทุกอย่างเป็นไปในทิศทางที่ดี นั่นก็คือการที่เรามี Design Thinking หรือการคิดเชิงออกแบบ เพราะการคิดแบบนี้นั้นจะเป็นหนึ่งในตัวช่วยในการวางแผน เพื่อที่จะทำให้เรานั้นสามารถมองเห็นเป้าหมายที่ชัดเจน อีกทั้งยังสามารถที่จะมองหาวิธีการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้เป็นระบบระเบียบมากยิ่งขึ้น บทความวันนี้เราจะพาคุณไปรู้จักกับ Design Thinking ความคิดแบบใหม่ที่กำลังมาแรงในยุคปัจจุบัน

Design Thinking คืออะไร

Design Thinking หรือกระบวนการคิดเชิงออกแบบเป็นอีกหนึ่งกระบวนการความคิดที่มีความจำเป็นจะต้องทำการศึกษาให้มาก เพราะว่ามันจะเป็นอีกหนึ่งความสามารถที่จะทำให้เราเข้าใจถึงความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย พี่ไม่ว่าจะเกิดปัญหาอะไรก็ตามจะสามารถทำการแก้ไขได้เป็นอย่างดี

อีกทั้งเรายังสามารถแก้ไขได้อย่างถูกจุด แน่นอนว่ากระบวนการความคิดนี้ถือเป็นอีกหนึ่งกระบวนการความคิดที่จะช่วยในการหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาใหม่ ๆ ที่เราไม่เคยเจอมาก่อน โดยมี 5 ขั้นตอนสำคัญที่จะช่วยให้เรากลายเป็นคนคิดแบบ Design Thinking และเชื่อหรือไม่ว่ากลุ่มคนที่อยู่ในกลุ่มวัยเด็กจะเป็นหนึ่งในกลุ่มที่เหมาะกับการใช้ความคิดเชิงออกแบบ นั่นก็เพราะว่าเด็ก ๆ จะเป็นวัยที่มีความคิดสร้างสรรค์

Design Thinking คืออะไร

อีกทั้งยังมีไอเดียบางอย่างที่ผู้ใหญ่เองมักจะคาดไม่ถึงและถึงแม้ว่าองค์กรของคุณนั้นจะไม่ใช่องค์กรที่ทำงานเกี่ยวเนื่องกับการออกแบบและศิลปะ แต่เชื่อเถอะว่าการคิดเชิงออกแบบนั้นมีความสำคัญอย่างมาก และถ้าหากองค์กรของคุณมีคนแบบนี้อยู่ก็จะช่วยให้ปัญหาที่เกิดขึ้น มีวิธีการแก้ปัญหาที่ดี เราถึงบอกได้ว่ากระบวนการความคิดแบบนี้นั้นมีความสำคัญอย่างมากกับทุกรูปแบบธุรกิจและทุกองค์กร

5 ขั้นตอนกับกระบวนการความคิด Design Thinking

5 ขั้นตอนกับกระบวนการความคิด Design Thinking

1. การทำความเข้าใจ (Empathize)

จุดแรกที่สำคัญของกระบวนการความคิดเชิงออกแบบ เราจะต้องทำการเข้าใจก่อนผู้ใช้แต่ละคน ต้องเจอกับปัญหาอะไรบ้าง ซึ่งการที่จะรู้ได้นั้นส่วนใหญ่แล้วจะต้องทำการสอบถาม ไม่ว่าจะเป็นแบบสอบถามหรือการสัมภาษณ์พูดคุยหรือแม้แต่การสังเกต

เพื่อที่เรานั้นจะได้ข้อเท็จจริงที่ไม่มีอคติใด ๆ และเมื่อได้ข้อมูลต่าง ๆ มาแล้ว เราจะต้องทำการทำซ้ำเพราะเราจะต้องให้แน่และตั้งคำถามอีกครั้งว่าทำไมถึงได้รู้สึกว่าสิ่งนั้นเป็นปัญหาจริง ๆ และเราจะต้องรู้อีกด้วยว่าใครคือคนที่ใช้งานและคนที่ใช้งานนั้นต้องการอะไร

2. การนิยาม (Define)

หลังจากขั้นตอนที่เราได้ข้อมูลแล้วเราก็ต้องทำความเข้าใจกับข้อมูลที่ได้รับมา โดยจะต้องมาทำการสรุปว่าใคร คือผู้ใช้และพวกเขาเหล่านั้นต้องการอะไร ปัญหาอยู่ตรงไหน และจะต้องทำการแก้ไขตอนไหน ให้ทำการสรุปออกมาจะทำให้เราเห็นภาพรวมมากยิ่งขึ้นและจะได้แนวทางในการแก้ปัญหาได้ดี

3. การสร้างสรรค์ (Ideate)

เมื่อเรารู้แล้วว่าปัญหาที่ผู้ใช้ต้องการแก้ไขคืออะไร ในขั้นตอนนี้เราจะต้องทำการศึกษากับหลาย ๆ คนทำการมองหาไอเดียต่าง ๆ ที่จะมีประโยชน์จากนั้นนำไอเดียมาทำการลองเสนอ และทำการคิดนอกกรอบบ้างเพื่อที่เราจะได้มองเห็นมุมมองใหม่ ๆ จากนั้นให้นำมารวบรวมและคัดเลือกสิ่งที่พอจะแก้ปัญหาได้นำไปใช้

แต่สิ่งที่สำคัญอย่างมากของขั้นตอนนี้นั่นก็คือเราจะต้องมีความคิดที่หลากหลาย และมีความจำเป็นจะต้องใช้ความเห็นจากคนทั่วไป คนทำงานและเหล่าบรรดาผู้บริหารนั่นก็เพื่อเราจะได้เห็นว่าไอเดียที่แตกต่างของแต่ละสถานะนั้น อันไหนมีความน่าสนใจในการนำไปแก้ไขปัญหามากกว่ากัน

4. การจำลอง (Prototype)

เมื่อเราสามารถหาไอเดียในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้แล้วนั้นก่อนที่เราจะนำไปใช้งานจริง ก่อนอื่นเราจะต้องนำวิธีการใช้นั้นมาจำลองวิธีการแก้ปัญหาก่อน เหมือนเป็นการทดลองว่าวิธีการที่เราคิดกันมานั้นสามารถแก้ไขปัญหาและตอบโจทย์ได้หรือเปล่า อีกครั้งยังสามารถช่วยในเรื่องของการลดความผิดพลาดก่อนนำไปใช้งานจริง อีกทั้งยังสามารถนำวิธีการแก้ปัญหานั้นมาทำการปรับปรุงและพัฒนาก่อนจะเอาไปใช้จริงได้

5. การทดสอบ (Test)

เมื่อมาถึงขั้นตอนสุดท้ายทั้งไอเดียเรามีวิธีการตอบโจทย์ต่อการแก้ปัญหา ก็ให้เราสามารถนำสิ่งเหล่านี้ไปทำการทดสอบ ซึ่งหากเรามองดูแล้วอาจจะคิดว่าขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสุดท้าย แต่ในความเป็นจริงมันเป็นเพียงการทดสอบซ้ำจากการที่เราทำการจำลองปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงวิธีการแก้ไขปัญหา

แน่นอนว่าขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ยุ่งยากพอสมควรแต่ถึงอย่างนั้นก็เป็นสิ่งที่จำเป็น เพื่อที่จะให้ผลลัพธ์ออกมาดีที่สุดและถ้าหากผลการทดสอบสำเร็จเรียบร้อยแต่ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้จริงเราก็สามารถย้อนกลับไปที่ข้อ 3 เราทำการปรับการแก้ใหม่อีกครั้งหนึ่ง

ประโยชน์ของ Design Thinking

ประโยชน์ของการมีกระบวนการทางความคิด แก้ปัญหาโดยอาศัยหลัก 5 ขั้นตอนนั้นมีประโยชน์ดังนี้

  • ช่วยพัฒนากระบวนการแก้ไข้ปัญหา และการทำงานอย่างเป็นขั้นเป็นตอน
  • พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และการคิดหาวิถีทางหรือแชร์ไอเดียในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
  • รู้จักการคิดวิเคราะห์ ทำให้มีไอเดียที่หลากหลาย และมีทางเลือกที่ดีที่สุดในการทำงาน
  • ทำให้เกิดกระบวนการทำงาน และนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อนำมาใช้ในการทำงานได้
  • มีแผนสำรอง A B C ช่วยในการแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว

สรุป

เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้เราจะพบว่ากว่าที่การแก้ปัญหาจะสำเร็จลุล่วงอย่างมีประสิทธิภาพนั้น มันจะต้องมีการใช้วิธีการและผ่านกระบวนการต่าง ๆ แต่เชื่อเถอะว่าถ้าหากคุณไม่มีการวางแผนมาก่อน การแก้ปัญหามันก็จะมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นหรือไม่วิธีการที่เรามีก็อาจจะไม่เหมาะกับการแก้ปัญหานั้น

นั่นจึงทำให้เหล่าบรรดาองค์กรระดับประเทศ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรเล็กหรือองค์กรใหญ่ก็ควรที่จะมีคนที่มีแนวคิด Design Thinking ให้ได้มากที่สุดเพื่อที่จะช่วยในการลดปัญหาในการทำงาน สามารถร่วมมือกับองค์กรได้ดี และยังสามารถทำการคิดเชิงออกแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ