SQ ย่อมาจาก Social Quotient คือความฉลาดทางสังคม

SQ คืออะไร ? ความฉลาดทางสังคม ที่สร้างได้ตั้งแต่วัยเด็ก

สิ่งหนึ่งที่มนุษย์เรานั้นจำเป็นที่จะต้องเจอในทุกวันนั่นก็คือการเข้าสังคม แต่การเข้าสังคมไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะการที่เราจะต้องเจอผู้คนจากหลากหลายครอบครัวมารวมตัวกัน  ความวุ่นวายจะต้องเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน ยิ่งในทุกวันนี้มีความเปลี่ยนแปลงในสังคมอย่างรวดเร็ว

ดังนั้นตัวช่วยที่สำคัญที่สุดก็คงหนีไม่พ้นความฉลาดทางสังคมหรือ SQ ซึ่งถือได้ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากในชีวิตประจำวัน เพราะเรามีความจำเป็นจะต้องทำการปรับตัวให้เข้ากับสังคมส่วนใหญ่ ซึ่งถ้าหากเราไม่สามารถที่จะทำการปรับตัวเข้ากับสังคมส่วนใหญ่ได้ก็อาจจะเกิดอาการในรูปแบบของการต่อต้านสังคม

SQ คืออะไร

SQ ย่อมาจากคำว่า Social Quotient  หมายถึง ความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม หรือความฉลาดทางสังคมนั่นเอง  ซึ่งถือว่าสำคัญอย่างมากสำหรับการใช้ชีวิตในปัจจุบัน เพราะเราจะต้องมีการปรับเปลี่ยนตัวเองอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ทันต่อการเข้าสังคม ซึ่งแน่นอนว่าถ้าหากสามารถปรับตัวทัน ก็ย่อมได้เปรียบมากกว่าคนที่ยังไม่สามารถปรับตัวได้

คนปรับตัวเก่งจะสามารถเข้ากับใครก็ได้ได้อย่างจะสามารถเข้ากับใครก็ได้ได้อย่างง่ายดาย อีกทั้งยังเป็นคนที่ยินดีต่อการฟังความเห็นของคนอื่น ยังรู้สึกยินดีที่จะได้เจอความเปลี่ยนแปลงและยังมีความสุขได้ท่ามกลางผู้คนในสังคม แน่นอนว่าคนที่มีความฉลาดทางด้านสังคมจะเป็นหนึ่งในคนที่มีความสุขอย่างมากและยังเป็นที่ยอมรับของคนทั่วโลก ความฉลาดทางด้าน SQ นี้ ยังถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งในทักษะที่จะประกอบให้คน ๆ นึงสามารถประสบความสำเร็จได้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นทักษะที่มีความสำคัญ ไม่แพ้ IQ AQ หรือ EQ เลย

SQ คืออะไร ผู้ที่มี Social Quotient เป็นอย่างไรบ้าง

ลักษณะของผู้ที่มี SQ (Social Quotient) เป็นอย่างไรบ้าง

  • ความสามารถในการสื่อสาร : สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่น
  • ความเข้ากันได้กับผู้อื่น: สามารถเข้าใจและยอมรับมุมมองและความคิดของผู้อื่น รวมถึงสามารถสร้างความเข้าใจและความเอื้อเฟื้อสัมพันธ์อันดีได้
  • ความสามารถในการเห็นอกเห็นใจ : สามารถเข้าใจและรับรู้ความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่นได้ และมีความกระตือรือร้นในการช่วยเหลือและสนับสนุนผู้อื่นในช่วงเวลาที่จำเป็น
  • ทักษะการทำงานกลุ่ม:  ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นในกลุ่ม เข้าใจวิธีการทำงานและการสื่อสารในทีม และมีความสามารถในการนำกลุ่มและสร้างความสอดคล้องในการทำงานร่วมกัน

ทั้งนี้เป็นแนวทางทั่วไปในการอธิบายลักษณะของผู้ที่มี SQ สูง อย่างไรก็ตาม ลักษณะเหล่านี้อาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับบุคลิกภาพและสถานการณ์ที่แตกต่างกัน

วิธีเริ่มต้นสร้าง SQ ตั้งแต่เด็ก เพื่ออนาคตของลูกน้อย

สำหรับบ้านไหนที่มีลูกเด็กเล็กแดง สิ่งที่สำคัญที่เราอยากจะปลูกฝังให้กับพวกเขาก็คงจะหนีไม่พ้นความฉลาด แน่นอนว่ามันไม่ใช่สิ่งผิดที่เราจะคาดหวังให้เด็กทุกคนมีความฉลาด แต่สิ่งที่สำคัญมากกว่าที่จะทำให้เด็กคนนึงมีความฉลาดนั่นก็คือเราจะต้องทำการปลูกฝังให้เด็กรู้จักการใช้ชีวิตในสังคม

สำหรับบางบ้านมักจะเลี้ยงลูกแบบลักษณะไข่ในหินไม่ยอมให้ทำอะไร ไม่ยอมให้เผชิญกับปัญหาอะไรเลย แน่นอนว่าเมื่อเขาโตขึ้น เด็กคนนี้อาจจะใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างยากลำบากและเป็นปัญหากับการปรับตัวเข้ากับคนอื่น หรือที่เรามักจะได้ยินคำว่าเป็นเด็กเอาแต่ใจและก้าวร้าว และแน่นอนว่าเด็กแบบนี้ก็อาจจะทำให้สังคมไม่ต้อนรับและจะเป็นเรื่องยากที่จะต้องใช้ชีวิตและแน่นอนว่าเด็กแบบนี้ก็อาจจะทำให้สังคมไม่ต้อนรับและจะเป็นเรื่องยากที่จะต้องใช้ชีวิตอยู่ในสังคม

ดังนั้นเหล่าบรรดาผู้ใหญ่จะต้องทำการส่งเสริม SQ ให้กับเด็ก เพื่อที่เป็นการช่วยให้เด็กสามารถรับมือกับสังคมได้อย่างมีความสุข อีกทั้งยังมีบุคลิกภาพและอารมณ์ที่ดี รู้จักมีความรับผิดชอบและมีกาลเทศะและ 4 ช่วงอายุต่อไปนี้ คือช่วงเวลาที่คุณจะต้องทำการช่วยเพิ่มทักษะในการสร้าง SQ ให้กับลูกน้อยได้

ในช่วงแรกเกิด – 6 เดือน

แม้ในช่วงนี้จะเป็นช่วงที่เด็กยังอาจจะไม่ค่อยรู้เรื่องรู้ราวสักเท่าไหร่ แต่พ่อกับแม่จะสามารถช่วย ในการเพิ่มทักษะการเข้าสังคมด้วยการมีปฏิสัมพันธ์กับลูกน้อย แล้วจะต้องทำการตอบสนองที่มีความเหมาะสม ถึงจะเป็นการเริ่มต้นที่ดี

ช่วงอายุ 6 เดือน – 12 เดือน

ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่เด็กนั้นจะสามารถรับรู้หรือแสดงความเป็นตัวตนได้ ดังนั้นสิ่งที่พ่อแม่ปลูกฝังจะสามารถเกิดผลกับลูก ซึ่งวิธีการง่าย ๆ ที่จะสอนนั่นก็คือให้ลูกรู้จักรอ แล้วเมื่อพวกเขารอได้เขาก็จะได้รับในสิ่งที่เขาต้องการ แต่ปัญหาอยู่ที่พ่อกับแม่จะต้องใจแข็งมากพอที่จะไม่ตามใจลูก

ช่วงอายุ 1 ปี – 3 ปี

ในช่วงเวลานี้จะเป็นช่วงที่เด็กนั้นสามารถปรับตัวได้มากแล้ว จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่คนในครอบครัวจะต้องพาเด็กไปพบปะผู้อื่นบ้าง นั่นก็เพื่อเป็นการสอนให้เด็กนั้นได้เรียนรู้ที่จะปรับตัวเข้ากับคนรอบข้างที่ไม่ใช่คนในครอบครัวรวมถึงให้เด็กได้รู้จักการแบ่งปันให้กับเด็กคนอื่นด้วย

ช่วงอายุ 3 ปี – 5 ปี

เป็นช่วงวัยที่เด็กจะต้องเข้าสู่โรงเรียน แน่นอนว่าพวกเขาจะต้องได้เจอกับสังคมใหม่ๆ รวมไปถึงเพื่อนที่อยู่ในชั้นเรียนซึ่งเป็นคนใหม่ ๆ แน่นอนว่าช่วงวัยนี้นั้นจะเป็นช่วงที่สามารถพัฒนาในเรื่องของการเข้าสังคมได้ดีที่สุด แต่ถึงอย่างนั้นผู้ใหญ่เองก็จะต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิด

อีกทั้งยังจะต้องมีการสอนเพิ่มเติมเพื่อให้เด็กสามารถเข้ากับผู้อื่นได้และยังจะต้องมีการตักเตือนอีกด้วยในส่วนของพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ซึ่งเราจะต้องมีการแก้ไขและสอนให้ถูกต้องในทันที

สรุปเรื่อง SQ ความฉลาดทางสังคม

แน่นอนว่าการที่เด็กคนนึงจะสามารถเติบโตและใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างดีนั้น จะต้องมีความสามารถในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างดีและ SQ คือหนึ่งในตัวช่วย แต่ถึงแม้ว่ามันจะเป็นเรื่องที่ยาก แต่ถ้าคนรอบข้างและคนเป็นพ่อแม่ให้ความสนใจ ก็จะสามารถช่วยให้อนาคตของเด็กคนหนึ่งเติบโตไปอยู่ในสังคมได้อย่างดีและมีความสุขที่จะอยู่ร่วมกับคนในสังคมได้อย่างแน่นอน